อว.ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ผ่าน“มายด์เซ็ต”ปั้นนศ.เป็นผู้นำ เสริมบารมีคุณธรรมให้ทันโลก

“ผู้นำต้องมีหลักคิด มีวิธีชนะได้ทั้งที่ยังไม่พร้อม ผู้นำต้องคิดให้ได้ ไม่จำเป็นต้องพร้อมและทำ ไม่จำเป็นต้องพร้อมถึงจะชนะ ซึ่งจะเป็นผู้นำที่ทั้งมีความสามารถ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และมีคุณธรรม”

Advertisement

จากแนวคิดของการศึกษายุคใหม่ และการปฏิรูประบบแนวคิดในการสร้างผู้นำ ผ่านหลักสูตรการศึกษาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ มีความรวดเร็ว ที่ถูกสร้างขึ้นจากหลักการพื้นฐานผ่าน มายด์เซ็ต (MIND SET) เน้นไปที่การสร้างผู้นำในยุคที่ทันกับโลกปัจจุบัน นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยกับก้าวสู่โลกแห่งอนาคต

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวผ่านการปาฐกถาพิเศษ ให้กับนศ.ปริญญาเอก ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยเน้นย้ำถึงแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษา และการสร้างนศ.ให้มีความเป็นผู้นำ ผ่านหลักสูตรทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเพื่อก้าวทันโลกยุคใหม่ ความโดยสรุปว่า “ที่ผ่านมากระทรวงอว.ได้ปฏิรูปการศึกษาในหลากหลายด้าน หลากหลายมิติ ส่งผลให้หลักสูตรทางการศึกษาของประเทศ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ผ่านการปฏิรูปก้าวข้ามข้อกำหนด ระเบียบ กฏเกณฑ์ต่างๆ เป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างให้เกิดการสร้างผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถ มีคุณธรรม กล้า และทำตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ได้ เพื่อก้าวให้ทันกับการโลกแห่งอนาคต

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ทั้งในเรื่องของหลักสูตรการเรียนที่ไม่จำกัดกับเวลา ไม่จำกัดอยู่กับสถานที่ สร้างการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า “เป็นไปตามอัธยาศัย” เปลี่ยนจากแนวคิดที่ว่า มหาวิทยาลัยคือเก่งที่สุด มาเป็นการเรียนรู้นอกเวลา และสามารถนำเอาความรู้จากมหาวิทยาลัย แล้วนำเอามาพัฒนาใหม่ให้เป็นทฤษฎีที่สูงส่งมากยิ่งขึ้น และนำกลับเอามาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม

เน้นกันลงไปที่การสร้างมายด์เซ็ต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยปฏิรูปได้ คนไทยปฏิรูปได้และเก่ง อว.ปฏิรูปเวลานี้ไม่มีเวลาเรียนขั้นต่ำ ที่จะจบ บางหลักสูตรเรียนสองปีจบก็ได้ และไม่มีการรีไทร์ ปริญญาตรีเรียน 8 ปีไม่ถูกรีไทร์ ปริญญาโท 5 ปีก็ไม่ต้องรีไทร์ ปริญญาเอกเรียนเกิน 6 ปีก็ไม่มีรีไทร์ ก่อนหน้านี้มีการรีรหัส ทุกอย่างว่ากันไปตามเกรดที่ได้ มีรีไทร์ แต่ไม่ใช่กำหนดกับเวลา

รวมถึงการสร้างมาตรฐานทางวิชาการใหม่ๆ โดยเฉพาะกับงานวิจัยที่นำไปสู่ การเข้าถึงทางวิชาการ ที่จะปรับเปลี่ยนให้บุคลากรในระบบการศึกษามีความเป็น “มนุษย์งาน”ผ่านการทำงานจริงบนงานวิจัยที่เน้นไปที่การนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงเพื่อนำกลับมาเป็นผลงานทางวิชาการได้มากยิ่งขึ้น  ทางอว.พร้อมที่จะยกเลิกข้อจำกัด และเปลี่ยนหลักสูตรให้ ยกเลิกกฏเกณฑ์ๆ ปรับให้เหมาะสมได้

นอกจากนี้การเปลี่ยนรูปแบบแนวคิดทางการศึกษาแบบเดิมๆ ที่จำกัดอยู่กับเรื่องของ “ตัวอาจารย์” ตำแหน่ง หรือ เรื่องของผลงานทางวิชาการ ก็จะมีการ การปรับเปลี่ยนเป็นพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาตัวบุคลากรอย่างอาจารย์ที่อาจจะไม่ใช่ศาสตราจารย์ ไม่ใช่ด็อกเตอร์ แต่ต้องเก่งและต้องสามารถ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ และต้องอธิบายได้ว่า อาจารย์ที่มาสอนเก่งอย่างไร? การเรียนอาจเรียนที่โรงงาน หรือ ที่ทำงานมากกว่าห้องเรียน

ในขณะที่หลักสูตรทางการศึกษา จะต้องมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา ไม่ยึดติดกับข้อจำกัดของเวลาในการเรียนว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ อาจจะมากหรือน้อยก็ได้ โดยจะเน้นให้เกิดการทดลองและคิดใหม่ หรือเน้นไปที่การเพิ่มพูนประสบการณ์นอกมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดนี้ คือส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา และ สร้างมิติใหม่ในระบบการศึกษาไทย ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญกับการสร้างระบบการศึกษายุคใหม่ สู่การส่งไม้ต่อไปถึงการสร้างผู้นำที่เข้าถึงกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

ทลายข้อจำกัดเดิมๆ ของระบบการศึกษาที่สร้าง “ผู้นำ” ที่จะต้องเก่ง….แต่การปฏิรูปทางการศึกษารูปแบบใหม่ จะสร้างให้เกิดผู้นำที่เป็นผู้นำแห่งอนาคต ที่เก่ง กล้า เชี่ยวชาญ และรวดเร็ว มีระเบียบวิธีคิดที่แตกต่าง มีบารมีคุณธรรมควบคู่กันไป ซึ่งทั้งหมดจะออกมาจากตัวตนผ่าน “มายด์เซ็ต” นำไปสู่การนำเอาความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในเชิงประจักษ์ กับประเทศชาติและสังคมต่อไป